นักวิชาการเชื่อว่าวิวัฒนาการทางสังคมของมนุษย์เกิดขึ้นพร้อมกับการที่มนุษย์รู้จักเลี้ยงสุนัขเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำงาน โดยเฉพาะในสังคมเก็บของป่าล่าสัตว์ที่จำเป็นต้องใช้สุนัขช่วยต้อนฝูงสัตว์และเก็บซากสัตว์ที่ถูกล่า นำไปสู่การสร้างทฤษฎีวิวัฒนาการร่วม (Co-Evolution) (Coren, 2008)
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
สุนัข,
สังคม,
การเรียนรู้
การศึกษาผีและสิ่งเหนือธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องตั้งคำถามว่าสิ่งเหล่านั้นมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร แต่ควรทำความเข้าใจว่าสิ่งเหล่านั้นเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับสิ่งรอบๆตัวมันอย่างไร โดยที่มันไม่จำเป็นต้องคงรูปและมีเสถียรภาพของการดำรงอยู่ แต่ควรมองดูมันในฐานะกระบวนการทางภววิทยาที่เปลี่ยนแปรไปตามสิ่งที่มันมีปฏิสัมพันธ์
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
ผี,
วิญญาณ,
ภววิทยา,
เหตุการณ์เหนือธรรมชาติ
การศึกษาแบบปรากฎการณ์วิทยาแปลกพิสดาร (alien phenomenology) พยายามทำความเข้าใจว่าวัตถุมิได้ต่างกันเพราะชื่อเรียก แต่พวกมันต่างกันเนื่องจากสิ่งที่มันเป็น ดังนั้น ไม่ควรนำเอาชื่อเรียกมาจำกัดขอบเขตของการดำรงอยู่ของวัตถุ แม้แต่วัตถุที่มีชื่อเรียกเหมือนกัน ก็ยังพบว่ามันไม่มีความเหมือนกันเลย
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ภววิทยา,
วัตถุ,
ปรากฎการณ์วิทยา,
วิธีวิทยา
Johannes Fabian (2007) ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ “ความทรงจำ” ว่าเป็นเรื่องของ “ปฏิบัติการทางสังคม” ที่ทำให้มนุษย์ได้พบกับพรมแดนของความหมาย พรมแดนนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์กำลังพูดถึงเรื่องราวที่ถูกจดจำและการระลึกถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
ความทรงจำ,
ภาษา,
ความหมาย
การแยกมนุษย์ออกจากสัตว์โดยอาศัยสติปัญญาเป็นตัวกำหนด ส่งผลให้มนุษย์มีอคติต่อสัตว์ ฐานคิดนี้มาจากการแยก “ร่างกาย” กับ “จิตใจ” เป็นคู่ตรงข้าม โดยที่มนุษย์จะกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถทางความคิด เป็นสัญลักษณ์ของปัญญา และถูกสถาปนาให้เป็นสายพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์ที่เรียกว่า Homo sapiens ขณะที่สัตว์จะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีแต่ร่างกายที่ปราศจากปัญญา (Morris, 2005)
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
สัตว์,
สิ่งมีชีวิต,
สายพันธุ์
แนวคิดเรื่อง “สภาวะรวมตัว” (Assemblage) มาจากความคิดของนักปรัชญาฝรั่งเศส คือ Gilles Deleuze และนักจิตวิเคราะห์ Félix Guattari (1980) ซึ่งเขียนหนังสือเรื่อง A Thousand Plateaus: Capitalism and Schizophrenia โดยเสนอมุมมองเกี่ยวกับ rhizomatic thought ซึ่งอธิบายลักษณะเครือข่ายที่ไม่เป็นระเบียบแบบแผน (nonlinear network) (Mussumi, 1987) เพื่อทำความเข้าใจปรากฎการณ์สังคมที่ดำเนินไปด้วยความโยงใยเชิงสัญลักษณ์ระหว่างสถาบันที่มีการใช้อำนาจ และสถานการณ์ที่สัมพันธ์กับศิลปะ วิทยาศาสตร์ และการต่อสู้ทางสังคมโดยไม่มีระเบียบหรือความเชื่อมโยงที่ชัดเจน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
การรวมตัว,
ความไร้ระเบียบ,
การโยงใย,
เครือข่าย
นักมานุษยวิทยาตระหนักว่าผู้สูงอายุเป็นกลุ่มคนที่มีความหวังและมีความปรารถนาที่จะทำสิ่งต่างๆ ทำให้ปัจจุบัน มีการศึกษาเรื่องราวเชิงบวกที่ปรากฏอยู่ในผู้สูงอายุ และเพื่อมิให้เป็นการตอกย้ำสภาวะชายขอบหรือสภาพร่างกายที่ร่วงโรย นักมานุษยวิทยาจึงสนใจเรื่องการใส่ใจดูแล ความห่วงใย และความหวังที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ผู้สูงอายุ ชราภาพ สุขภาพ การดูแล
การใช้กัญชาคือภาพสะท้อนสังคมในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เนื่องจากพืชชนิดนี้ถูกสร้างความหมายต่อประสบการณ์ของมนุษย์จากด้านลบไปจนถึงด้านคุณประโยชน์ กัญชาจึงมีภาพย้อนแย้งในตัวเอง
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ฝิ่น,
กัญชา,
ยาสูบ,
สุขภาพ,
วัฒนธรรม,
การแพทย์,
พืช,
สมุนไพร
จากการศึกษาและเก็บข้อมูลของนักมานุษยวิทยาทั่วโลกในพื้นที่ที่แตกต่าง จะพบว่ามนุษย์ในแต่ละวัฒนธรรมล้วนมีวิธีการสร้างความงามบนร่างกายที่ไม่เหมือนกัน เช่น การทำรอยแผลเป็นบนร่างกายและใบหน้าของชนเผ่านูบาในประเทศซูดาน การเขียนลายบนใบหน้าของชาว Caduveo ในประเทศบราซิล การมัดเท้าของชาวจีน การรัดเอวของชนพื้นเมืองในหมู่เกาะปาปัว และการทำให้คอยึดยาวขึ้นของชาวปาดองในพม่า เป็นต้น
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ความงาม,
ร่างกาย,
เพศสภาพ,
สุขภาพ,
การแพทย์,
ทุนนิยม