คำศัพท์

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z | ทั้งหมด
แสดง 31-40 จากทั้งหมด 232 รายการ

          คำว่า “Deconstructionism” หรือเป็นคำที่ ฌาคส์ เดอร์ริดา ใช้เพื่ออธิบายว่า “เรื่องเขียน” เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น เรื่องเขียนและความรู้ต่างๆมิใช่ตัวแทนของความจริง เดอร์ริดาอธิบายว่า deconstruction คือการวิจารณ์แนวคิดแบบเพลโต หรือ Platonism ซึ่งวางรากฐานปรัชญาแบบตะวันตก ที่เชื่อในการมีอยู่ของโครงสร้างแบบคู่ตรงข้าม  ซึ่งคู่ตรงข้ามนี้แยกจากกันและมีลำดับช่วงชั้นไม่เท่ากัน  ด้านหนึ่งมักจะมีลำดับชั้นที่สูงกว่าอีกด้านหนึ่ง 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การรื้อสร้าง

Descent  คือการสืบเชื้อสายหรือการสืบตระกูล นักมานุษยวิทยาจะศึกษาวิธีการจัดจำแนกบุคคลตามสายสัมพันธ์ทางเครือญาติ เช่น การสืบเชื้อสายตระกูลทางฝ่ายแม่หรือฝ่ายพ่อจะมีกฎที่แตกต่างกัน นอกจากนั้นยังศึกษาเรื่องการเป็นญาติพี่น้องโดยมีบรรพบุรุษร่วมกันมา  ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตของมนุษย์เป็นสิ่งที่รับรู้กันว่าถูกกำหนดในเชิงสังคม  บุคคลที่อ้างว่าเป็นทายาทของบรรพบุรุษเดียวกันจะได้รับการยอมรับให้อยู่ในกลุ่ม ซึ่งอาจมิใช่เป็นการสืบทางสายเลือดเท่านั้น คนที่เป็นญาติกันยังเกิดจากเหตุผลอื่นๆ 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การสืบเชื้อสาย

มานุษยวิทยาการพัฒนา หมายถึงการนำมุมมองความคิดทางมานุษยวิทยาไปปรับใช้กับสาขาวิชาความรู้อื่นๆเพื่อช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการทำงานด้านพัฒนาต่างๆ อย่างไรก็ตาม ความหมายของ “การพัฒนา” ในทางมานุษยวิทยาคือปฏิบัติการทางสังคมรูปแบบหนึ่งที่ขับเคลื่อนและดำเนินงานโดยกลุ่มคน องค์กร หรือสถาบันทางสังคม ซึ่งต้องการที่จะเข้าไปปรับเปลี่ยนแก้ไขปัญหาต่างๆของมนุษย์ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข เป็นต้น

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยาการพัฒนา

Diasporas หมายถึง คนพลัดถิ่น เป็นกลุ่มประชากรที่กระจัดกระจายย้ายถิ่นไปอยู่ในพื้นที่ที่มิใช่บ้านเกิดและชุมชนดั้งเดิมของตัวเอง กลุ่มคนที่ย้ายออกไปจากที่อาศัยเดิมเหล่านี้อาจจะมีเหตุผลทางประวัติศาสตร์ การเมือง สงคราม ความขัดแย้ง การค้าขาย และเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนที่ย้ายออกไปจากบ้านเกิดบางกลุ่มอาจยังคงมีสายสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นกับญาติพี่น้องและชุมชนดั้งเดิมของตัวเอง แต่บางกลุ่มอาจไม่มีสายสัมพันธ์กับดินแดนบ้านเกิด

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: คนพลัดถิ่น

ความคิดเรื่อง “การแพร่กระจาย” ทางวัฒนธรรม (Cultural Diffusion) หมายถึงการกระจายตัวของแบบแผนทางวัฒนธรรมจากพื้นที่หนึ่งไปยังพื้นที่อื่น เช่น ภาษา การแต่งกาย ศาสนา เทคโนโลยี วัตถุสิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้ หรือความคิดความเชื่อ ซึ่ง ลีโอ โฟรบีเนียส เป็นผู้นำเสนอความคิดนี้ครั้งแรกในปี 1897 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม

การศึกษาและการนิยาม “ความพิการ” ของมนุษย์ เป็นการอาศัยความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกและมักจะสร้างการอ้างอิงกับร่างกายของคนปกติที่มีอวัยวะครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งในสังคมตะวันตกผู้พิการทางร่างกายจะถูกมองเป็นเหมือนคนป่วยและคนด้อยโอกาส ไม่สามารถทำสิ่งต่างๆได้ด้วยตนเอง  การศึกษาทางมานุษยวิทยาจะอธิบายร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ของมนุษย์ด้วยมุมมอง 2 แบบ คือ 1 ความพิการถูกสร้างขึ้นด้วยความคิดเรื่องการซ่อมแซมแก้ไขให้ดีขึ้น 2 ความพิการแต่ละวัฒนธรรมจะมีความหมายต่างกัน

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ความพิการ

ภัยพิบัติและความหายนะทางธรรมชาติ ในมุมมองทางมานุษยวิทยาเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปฏิบัติการของมนุษย์ที่มีต่อเหตุการณ์ที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งนักมานุษยวิทยาจะทำความเข้าใจบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่ปรากฎอยู่ในเหตุการณ์ภัยพิบัติและความหายนะ กล่าวคือ นักมานุษยวิทยามองว่าภัยพิบัติต่างๆส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์อย่างไรและมนุษย์มีวิธีคิดและการจัดการเรื่องนี้อย่างไร

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ และชัชชล อัจนากิตติ

หัวเรื่องอิสระ: ภัยพิบัติ, นิเวศวิทยาวัฒนธรรม, สิ่งแวดล้อม

ในวัฒนธรรมของมนุษย์หลายแห่ง สามารถพบเห็นสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่าตุ๊กตาในหลายรูปแบบและมีหน้าที่ความหมายแตกต่างกันไป เมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตกาล พบหลักฐานตุ๊กตาที่ทำจากไม้ในโลงศพของชาวอียิปต์โบราณ ในยุคกรีกโบราณ จะพบตุ๊กตาที่ทำจากดินเหนียว ในยุคโรมัน ตุ๊กตาจะทำจากวัสดุหลายประเภทเช่น ดิน ไม้และงาช้าง ซึ่งพบหลักฐานได้ในหลุ่มศพของเด็กชาวโรมัน นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า รูปปั้นขนาดเล็กที่มีรูปร่างเป็นสตรีอ้วนเกี่ยวข้องกับการใช้ประกอบพิธีกรรมเพื่อความอุดมสมบูรณ์ (Fertility Ritual) เป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และความเจริญงอกงาม

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ตุ๊กตา

ทรัพย์สินเดิมของฝ่ายหญิง(เจ้าสาว) ก่อนการสมรส หรือ dowry เป็นทรัพย์สินที่พ่อแม่หรือญาติของเจ้าสาวจะส่งให้กับลูกสาวในพิธีแต่งงาน  ตามธรรมเนียมเดิม การส่งทรัพย์สินจะเกิดขึ้นในกรณีที่มีการแต่งงานครั้งแรก และทรัพย์สินนั้นจะถือเป็นสมบัติส่วนตัวของเจ้าสาวเท่านั้น   ธรรมเนียมดังกล่าวนี้พบได้ในหลายวัฒนธรรม ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องมือช่วยให้ผู้หญิงที่แต่งงานมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ นักมานุษยวิทยา แจ็ค กูดี้ ศึกษาเปรียบเทียบธรรมเนียมนี้ในหลายสังคมพบว่า ทรัพย์สินที่ให้เจ้าสาวสัมพันธ์กับแบบแผนการแบ่งแรงงานในสังคมเกษตรกรรม

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ทรัพย์สินของเจ้าสาว

          นักมานุษยวิทยาสนใจประสบการณ์ของความฝันตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา ซึ่งก่อนหน้านั้นการศึกษาเรื่องความฝันของมนุษย์จะถูกมองภายใต้แนวคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์และบุคลิกภาพเป็นหลัก โดยเฉพาะในทศวรรษ 1960-1970 นักมานุษยวิทยาอเมริกันพยายามอธิบายความฝันในฐานะเป็นการแสดงของบุคลิกภาพ ซึ่งมีการนำทฤษฎีในหนังสือเรื่อง The Interpretation of Dream (1900) ของซิกมันด์ ฟรอยด์ มาอธิบายความฝัน

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ความฝัน