การฆ่าทารก (Infanticide) เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นมากนักในสังคมมนุษย์ อาจพบเห็นได้ในสงครามหรือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ส่วนกรณีอื่นๆไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการ การฆ่าทารกมักจะถูกโจมตีว่าเป็นการกระทำที่ผิดศีลธรรม เช่นกรณีที่มารดาไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรแรกเกิดของตนได้ เธออาจทำแท้ง หรือฆ่าทารกตั้งแต่แรกคลอด นอกจากนั้นการตายของทารกอาจเกิดจากการถูกทิ้งให้อดตาย ขาดอาหาร ซึ่งเป็นการฆาตกรรมทางอ้อม ชาวยุโรปมักจะประณามการฆ่าทารกว่าเป็นความโหดเหี้ยม และเป็นความป่าเถื่อน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
การฆ่าทารก
พิธีกรรมแรกรับ หรือพิธีกรรมรับเข้ากลุ่ม (Initiation Rites) หมายถึง พิธีที่เปลี่ยนสถานะและบทบาทของบุคคล ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมกับการรับเข้าไปอยู่ในกลุ่มอายุ เช่น กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มผู้ใหญ่ กลุ่มผู้ชาย กลุ่มผู้หญิง หรือการได้รับสถานะพิเศษ เช่น การเป็นพระ พ่อมดแม่มด หรือกษัตริย์ พิธีกรรมดังกล่าวนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การนำบุคคลออกจากสถานะเดิม การเปลี่ยนแปลงสถานะ และการรับเข้าไปสู่สถานะใหม่
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
พิธีแรกรับ
อารมณ์ขันและเรื่องตลกเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์มีเหมือนกัน อารมณ์ขันอาจหมายถึงภาวะของความรื่นเริงในอารมณ์ซึ่งมักจะแสดงออกมาด้วยรอยยิ้ม หรือการหัวเราะเมื่อมีสิ่งมากระตุ้นเร้าจากภายนอก การหัวเราะและอารฒณ์ขันเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารระหว่างมนุษย์ซึ่งอาศัยองค์ประกอบทางชีววิทยา สังคมวัฒนธรรม และจิตวิวิทยา
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
การเล่นตลกขบขัน
กระบวนการทางศาลในความคิดของนักกฎหมายและนักสังคมวิทยา หมายถึงการแก้ปัญหาโดยพิสูจน์ความจริง และการนำความจริงนั้นไปใช้โดยกฎหมายและผู้พิพากษา ในสังคมที่มีระบบรวมศูนย์อำนาจทางกฎหมาย กระบวนการศาลจะเป็นกลวิธีในการดำเนินงานทางกฎหมาย กระบวนการศาลจึงเป็นรูปแบบในอุดมคติ ซึ่งเกิดขึ้นในการทำงานของผู้พิพากษาที่ต้องตัดสินใจในความขัดแย้งระหว่างกลุ่มสองกลุ่ม การค้นหาความจริงและการพิสูจน์ความจริงจะเกิดขึ้นตามมา
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
กระบวนการศาล
เครือญาติหมายถึงเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมที่สร้างบทบาทและสถานภาพให้กับสมาชิกในครอบครัวซึ่งเกิดจากสายโลหิตหรือจากการแต่งงาน ความคิดเกี่ยวกับระบบเครือญาติ เป็นความคิดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การจัดระเบียบสังคมของมนุษย์ขั้นพื้นฐานที่สุด
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
เครือญาติ
มานุษยวิทยากฎหมายศึกษาองค์ประกอบที่สำคัญสามส่วน คือ หนึ่ง แต่ละวัฒนธรรมจะมีวิธีแยกแยะกฎต่างๆและมีกระบวนการสร้างกฎหมาย สอง ขบวนการจัดการกับความขัดแย้งจะอาศัยรูปแบบและสถาบันที่แน่นอน สังคมจะมีระบบจัดการความขัดแย้งซึ่งเป็นระบบที่ทุกคนเห็นร่วมกัน และ สาม กฎหมายจะเกิดขึ้นพร้อมกับการสร้างมาตรการควบคุมและระบบคุณค่าทางสังคม เช่น การใช้ขนบธรรมเนียม และศีลธรรม
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยากฎหมาย
เวลาว่าง คือ เวลาอิสระที่มนุษย์สามารถทำสิ่งต่างๆได้นอกเหนือไปจากงานในอาชีพและภาระหน้าที่ประจำ แต่อย่างไรก็ตาม การนิยามความหมายของ “เวลาว่าง” ก็ยังเป็นเรื่องยากเพราะการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์อาจไม่ได้แบ่งเวลาแยกขาดจากกันเด็ดขาด
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
เวลาว่าง
มานุษยวิทยาที่วิเคราะห์วรรณกรรม หมายถึง การสำรวจบทบาทของงานเขียนและวรรณกรรมที่ปรากฎอยู่ในสังคมของมนุษย์ ซึ่งจะมีการตรวจสอบวิธีการแสดงออกทางภาษาในรูปแบบต่างๆที่สัมพันธ์กับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ เกี่ยวข้องกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่หล่อหลอมและมีอิทธิพลต่อการสร้างงานเขียน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยาวรรณกรรม
นักประวัติศาสตร์อธิบายว่า “ความรักแบบเสน่หาอาวรณ์” เป็นเรื่องทางประวัติศาสตร์ที่พบเห็นได้ในสังคมตะวันตก ลอว์เรนส์ สโตนกล่าวว่า ถ้าความรักโรแมนติกเกิดนอกทวีปยุโรป มันก็เป็นเพียงความรักของชนชั้นสูงที่มีเวลาสำหรับการหาความสุนทรีย์ ความคิดเรื่องรักของชาวยุโรปนั้นวางอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าทุกๆอย่างมีความสมบูรณ์ ซึ่งเป็นไปตามคติสมัยใหม่และปัจเจกนิยม ซึ่งทำให้ความรักก่อตัวเป็นรูปร่างอย่างชัดเจน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ความรัก
เวทมนต์ เป็นศิลปะที่อาศัยอำนาจเหนือธรรมชาติเข้าไปควบคุมเหตุการณ์ต่างๆให้เกิดผลบางอย่าง โดยผู้มีเวทมนต์ต้องมีวิชาความรู้และสามารถติดต่อกับอำนาจเหนือธรรมชาติได้ การกระทำดังกล่าวนี้อาจดูเป็นเรื่องไร้สาระ หรือเชื่อถือไม่ได้ในความคิดของชาวตะวันตก ทำให้การศึกษาเรื่องเวทมนต์ถูกตีความและอธิบายด้วยทฤษฎีวิวัฒนาการทางศาสนา
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
เวทมนต์